วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565

Tracker

 

Tracker

 Tracker เป็นส่วนที่เราจะต้องทำการติดตั้งไว้กับสิ่งเคลื่อนที่ (เช่นรถยนต์ , จักรยานยนต์ , เรือ , บอลลูน , ฯลฯ)  ซึ่งจะประกอบด้วย 

     (1) ตัวรับสัญญาณพิกัดตำแหน่งจากดาวเทียม (GPS)
     (2) โมดูลแปลงพิกัดตำแหน่งดาวเทียวเป็นแพ็กเก็ตเรดิโอ (Tracker)
     (3) เครื่องวิทยุสื่อสาร (ความถี่ 145.525 MHz) (ความถี่ 144.390 MHz)


GPS ทำหน้าที่รับสัญญาณพิกัดดาวเทียมจากดาวเทียม GPS ที่อยู่บนฟ้า

Tracker ทำหน้าที่แปลงค่าพิกัดตำแหน่ง (ละติจูด-ลองติจูด และอาจมีค่าอื่นๆ รวมอยู่ด้วย) เป็นข้อมูลแพ็กเก็ตเรดิโอ และทำหน้าที่กดคีย์วิทยุสื่อสารให้ทำการส่งข้อมูลแพ็กเก็ตออกอากาศ
( ตัว tracker ที่พบเห็นก็เช่น Byonics (Tinytrak) , Argent , FoxDelta , OpenTracker , EzTrak )

เครื่องวิทยุสื่อสาร ทำหน้าที่ส่งสัญญาณออกไปสู่สถานี ไอเกต ผ่านทางอากาศ

การทำงานของส่วนนี้คือ ตัวโมดูล Tracker จะทำการแปลงข้อมูลพิกัดตำแหน่ง (ละติจูด-ลองติจูด) ที่รับได้จากตัวรับสัญญาณดาวเทียม (GPS) แล้วทำการแปลงค่าพิกัดตำแหน่งให้เป็นสัญญาณแพ็กเก็ตเรดิโอ แล้วส่งออกไปทางวิทยุสื่อสาร พร้อมทั้งมีหน้าที่สั่งกดคีย์วิทยุสื่อสารให้ส่งข้อมูลออกไปในอากาศ ดังนั้นเมื่อเราจ่ายไฟเลี้ยงให้โมบายยูนิตนี้แล้ว เราแทบไม่ต้องทำอะไรอีกเลย

เรามาดูอุปกรณ์ส่วนสำคัญของชุด Tracker 

 1. ตัวรับสัญญาณดาวเทียม GPS 


หัวรับสัญญาณดาวเทียม GPS แบบ Serial ที่ความเร็ว 4800 baud rate

หัวรับสัญญาณดาวเทียม GPS แบบ Serial ที่ความเร็ว 9600 baud rate


หัวรับสัญญาณดาวเทียม GPS แบบ Serial ที่ความเร็ว 4800 baud rate ยีห้อ HOLUX

 2. ตัว Tracker 
2.1) Tracker อันแรก ชื่อว่า EzTrack ผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยคนไทย (ท่าน pa_ul; E20GJW)




 2.2) Tracker อีกตัวหนึ่งของคนไทย เรียกว่า SABTracker โดยฝีมือของท่าน HS3LSE และ HS0NUU










2.3) Tracker ตัวล่าสุดของคนไทย เรียกว่า nTNC โดยฝีมือของท่าน HS5TQA แห่ง นครไทย.net เจ้านี้ซุ่มพัฒนาอยู่นานแล้ว ไม่ยอมออกมาวางแผงซักที จนกระทั้งเดือนตุลาคม 2555 นี้เอง

racker ตัวนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ครอบจักรวาลเลยทีเดียว คือเป็นได้ทั้ง Tracker , DiGi-Peater , TNC (สำหรับสถานี I-Gate) และ Weather Station (สถานีตรวจวัดอากาศ) แถมด้วยคู่มือสำหรับการคอนฟิกและคู่มือการใช้งานพร้อมสรรพ









2.4) Tracker ของนักวิทยุสมัครเล่นชาวอินเดีย เป็น Tracker ที่ใช้ชื่อว่า Foxtrak  
ภายใต้โค๊ดการผลิตที่ชื่อ 
Foxdelta ถือว่าเป็น Tracker  ที่นักวิทยุสมัครเล่นไทยจัดหามาเล่น
ในยุกต์แรกๆ ของ APRS ในประเทศไทย 
(ประมาณ เมษายน ๒๕๕๑)




ชุดติดเข้ากับวิทยุสื่อสาร+GPS+แบตเตอรี่ 

2.5) Tracker ของต่างประเทศ ชื่อว่า OpenTracker (หรือ OT) ของบริษัท ARGENT


สามารถสั่งเป็นชุดคิท มาประลองฝีมือการประกอบด้วยตัวเอง

2.6) Tracker ที่ใช้ประกอบเข้าไปในวิทยุสื่อสารแบบโมบาย ยีห้อ Alinco รุ่น DJ-135 โดยเฉพาะ 
เรียกชื่อว่า 
T2-135 ของบริษัท ARGENT เช่นกัน




2.7) Tracker ของต่างประเทศ ชื่อว่า TinyTrak ของบริษัท Byonics











2.8) ชุดพร้อมใช้งาน (อันนี้ต้องแสดงฝีมือเอาเองครับ.. ในที่นี้ผมนำภาพของท่าน E27FBI มาประกอบ)





2.9) ชุดพร้อมใช้งาน ของต่างประเทศ ในชื่อ Micro-Trak ของบริษัท Byonics เช่นกัน


ชุดพร้อมใช้งาน ซึ่งประกอบด้วย หัวรับสัญญาณ GPS + โมดูล Tracker + Transmitter + Antenna
การใช้งานเพียงแค่เสียบไฟจากช่องจุดบุหรี่ในรถยนต์...ใช้งานได้เลย (ดูเพิ่มเติมที่ http://www.byonics.com/mt-rtg )


ภายในกล่องจะมี IC ทำหน้าที่ Tracker และมีชุดสร้างสัญญาณวิทยุและตัว PA ขยายกำลังส่งวิทยุ 
การใช้งานเพียงแค่ต่อหัวรับสัญญาณดาวเทียม GPS และต่อสายอากาศเพิ่มเข้าไป



2.10) ชุดพร้อมใช้งาน ของคนไทย เจ้าแรกที่เป็นซิงเกิลบอร์ด ในชื่อ nTNC Tracker ของท่าน HS5TQA เจ้าเดิม เปิดตัวเมื่อ 19 ก.ค. 2557


ดพร้อมใช้งาน ซึ่งประกอบด้วย กล่องควบคุม + หัวรับสัญญาณ GPS
การใช้งานเพียงแค่เสียบไฟจากรถยนต์...ต่อสายอากาศ...ต่อหัว GPS...เปิดสวิตช์...ใช้งานได้เลย 



3. เครื่องวิทยุสื่อสาร
เราสามารถนำเครื่องวิทยุสื่อสารทั่ว ๆ ไป ที่เรามีอยู่ มาเสียบต่อเข้ากับ Tracker ได้เลย เพียงแค่ต่อสายสัญญาณให้ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตแนะนำมา และปรับตั้งความถี่ไว้ที่ 144.390 MHz (สำหรับประเทศไทย)

นักวิทยุสมัครเล่นทุกท่านจะมีเครื่องวิทยุที่ใช้งานอยู่กันแล้ว จึงไม่มีรายละเอียดที่จะแนะนำในหัวข้อนี้

บล๊อกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใดๆทางการค้า เพียงเเค่อยากยกเอาตัวอย่างอุปกรณ์มาให้เพื่อนๆได้รับชม เพื่อความรู้ และการศึกษาเท่านั้น

ขอบคุณที่มา : https://www.hs9dmc.com/