วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565

ตั้งค่า DUPLEX บน YAESU FM-9012

 

วันก่อนได้ QSO กับสมาชิกท่านหนึ่ง อยากซื้อ YAESU FM-9012 แต่พอไปลองเปิดเครื่องแล้ว ที่ความถี่ 145.100-145.495 เครื่องตั้งเป็น DUPLEX -  มาจากโรงงานเลยไม่กล้าซื้อ เพราะตั้งค่าให้เป็นความถี่ปกติไม่ได้  ส่วนผมไม่รู้เรื่องอะไรเลยซื้อมาโดยไม่ได้สนใจอะไร  แต่ความจริงเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยการเอา DUPLEX ลบออก ไป แล้ว Memory ช่องความถี่นั้นไว้ พอใช้งานก็ใช้งานจากโหมด Memory

การตั้งค่า DUPLEX YAESU FM-9012
  1. อยู่ที่โหมด VFO
  2. กดปุ่ม SET MHz  หมุดลูกบิดไปที่ 43 (RPT)
  3. กดปุ่ม SET MHz อีกครั้ง  หมุดลูกบิดเพื่อเปลี่ยนค่าตามต้องการ  SIMP, +RPT หรือ -RPT
  4. กด SET MHz ค้างเพื่อยืนยันค่า
การบันทึกช่องความถี่
ก่อนบันทึกช่อง นอกจากตั้งค่า DUPLEX แล้ว ก็ยังสามารถตั้งค่ากำลังส่งได้ด้วย LOW1 LOW2 LOW3 HIGH เมื่อตั้งค่าทุกอย่างพร้อมก็สามารถบันทึกช่องได้เลย มีวิธีการดังนี
  1. กดปุ่ม MW D/MR
  2. เลือกช่องที่ต้องการโดยการบิดลูกบิด กด MW D/MRอีกครั้งเพื่อยืนยัน
  3. เข้าใช้งาน Memory โหมด โดยการกด MW D/MR
ในกรณีช่องความถี่ REPEATER ที่ต้องใช้ค่า DUPLEX – ก็ใช้วิธีการนี้เช่นการ ส่วนค่า OFFSET  ของ REPEATER จะตั้งค่ามาแล้วเป็น 600 ก็ไม่จำเป็นต้องปรับ

รับสัญญาณ SSTV จากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ด้วยโทรศัพท์มือถือง่ายๆ

 


ผมได้ทดลองฝึกรับสัญญาณ SSTV (Slow Scan television) จากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ด้วยแอปโทรศัพท์มือถือง่ายๆ มาลองเล่นกันดูครับ

SSTV คืออะไร SSTV ย่อมาจาก Slow Scan television คือการส่งภาพผ่านวิทยุสื่อสารโดยนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งภาพที่รับได้ จะเป็นภาพนิ่งมีทั้งภาพสีและขาวดำ

โดย ARISS Russia ได้จัดกิจกรรมพิเศษส่งสัญญาณภาพ SSTV ลงมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ซึ่งเวลาที่ดาวเทียมจะผ่านเข้าประเทศไทย จะส่งสัญญาณทั้งหมด 9 รอบเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2561 เวลา 19:15 UTC (02:15 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน เวลาในประเทศไทย) ไปจนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2561  เวลา 07:26 UTC (14:26 น. ประเทศไทย)

ทางสถานีส่งสัญญาณ SSTV ด้วยเครื่อง Kenwood TM-D710E ใช้ความถี่ 145.800 MHz ซึ่งเป็นความถี่ขาลงของ ISS และ SSTV mode ใช้เป็น PD-120

รับสัญญาณ SSTV ด้วยมือถือ

วิธีรับ SSTV ด้วยโทรศัพท์มือถือของผมก็ง่ายๆ มากครับ ใครก็ทำได้ คือ

  • สแตนด์บายวิทยุที่ความถี่ 145.800 MHz ในช่วงเวลาที่ ISS จะผ่าน
  • ใช้มือถือแอนดรอยด์โหลดแอป Robot36 – SSTV Image Decoder
  • ใช้มือถือที่ติดตั้งแอปฯ Robot36 ไว้ เปิดแอปแล้วเอาไปไว้ใกล้ๆ วิทยุ
  • เมื่อมีสัญญาณเข้ามา ตัวแอปจะแปลงสัญญาณเสียงเป็นภาพให้อัตโนมัติเลยครับ
  • จากนั้นก็บันทึกภาพหรือแคปหน้าจอเพื่อเอาภาพนั้นไว้ใช้ต่อไป

ด้านล่างนี่คือตัวอย่างภาพที่ผมรับได้ในวันสุดท้าย คือวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 14.26 น. ในเวลาบ้านเรา รับได้ทั้งหมดสองภาพด้วยกันดังนี้ครับ



และคนที่สามารถรับรูปจากสถานีอวกาศได้แล้วอย่าลืมไปโพสรายงานที่ ARISS-SSTV gallery เพื่อขอรับใบประกาศด้วยนะครับ

และนี่ก็เป็นการเล่นสนุกๆ อีกอย่างหนึ่งของนักวิทยุสมัครเล่น ที่ไม่ใช่แค่เอาไว้พูดคุยกันเท่านั้น ซึ่งตัวอย่างนี้เป็นเพียงการรับภาพ จากสัญญาณ SSTV เท่านั้น ส่วนการส่งภาพต้องใช้กล่องอินเตอร์เฟสเชื่อมระหว่างวิทยุกับคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นตัวส่งสัญญาณ เอาไว้มีเวลาจะลองทำดูนะครับผม

ที่มา: https://www.hs3lzx.com/sstv-from-ariss-06-2018/