วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีหา กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator) แค่คลิกก็ได้กริดแล้ว

วิธีหา กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator) ออนไลน์ เพียงแค่จิ้มๆ ไปบนแผนที่ก็ได้กริดแล้ว
กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator) คือ การแบ่งผิวโลกออกเป็นส่วน ๆ เป็นตาราง เป็นระบบที่นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกนิยมใช้เพื่อบอกที่ตั้งของสถานีวิทยุ ส่วนรายละเอียดที่มาของ Grid Locator ผมไม่ขออธิบายเพราะมีหลายเว็บได้เขียนไว้ดีแล้วลองหาอ่านในกูเกิ้ลได้ครับ
นี่ก็ใกล้จะถึงเวลาแข่งขัน CQ แล้ว สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่ลงแข่งขันประจำจะรู้ดีว่ามันเป็นยังไงและมีไว้ทำไม เพราะตอนที่แข่งวิทยุอย่างเช่น CQ World Wide VHF หรือ Thailand Field Day Contest ก็จะต้องลง Grid Locator ของคู่สถานีไว้ใน Log Book ด้วย
ที่จะพูดถึงวันนี้คือวิธีการหาว่าตำแหน่งนั้นเป็นกริดอะไรกันแน่ ซึ่งในการแข่งขันครั้งก่อนๆ ผมและทีมงานใช้แผนที่กระดาษมาตีตารางเองซึ่งมันใช้งานไม่ค่อยสะดวกเลย เช่นเวลาคู่สถานีแจ้งตำบล อำเภอ แต่ไม่แจ้งกริด เราก็ต้องหาดูในแผนที่กระดาษ กว่าจะหาได้ ผมเลยจะมาแนะนำเว็บแผนที่สำหรับหากริดโดยเฉพาะ นั่นคือ
วิธีใช้งานง่ายๆ แค่เปิดเว็บไซต์ด้านบนนี้แล้ว ก็จิ้มๆ ไปในพื้นที่ที่ต้องการดูกริด ก็จะได้กริดมาลง Log Book แล้วครับ แม่จะมีข้อจำกัดว่าต้องมีอินเตอร์เน็ตถึงจะใช้ได้แต่เดี๋ยวนี้ที่ไหนๆ ก็มีเน็ตใช้
นี่ก็เป็นแค่ช่องทางหนึ่งในการหากริด อันที่จริงก็มีหลายเว็บที่ใช้งานลักษณะนี้ รวมไปถึงมีแอปพลิเคชันด้วยแต่ผมสะดวกใช้จอใหญ่ๆ ในคอมมากกว่า เพื่อนสมาชิกท่านไหนมี วิธีหากริดที่ดีกว่านี้ก็มาแนะนำกันได้นะครับ


ขอบคุณ เว็ป: https://www.hs3lzx.com/grid-locator/

ข้อมูลสถานี Echolink e29ors ชุมพร

สถานี Echolink e29ors ออกอากาศโดยมีข้อมูลสถานีดังนี้
                                 1.คอมพิวเตอร์ เมนบอร์ด 775 CPU Intel® Core2 Quad Q9400 4Core (6M Cache, 2.66 GHz, 1333 MHz FSB)



                                  2.ออกอากาศด้วยเครื่องวิทยุ ICOM IC-2GE กำลังส่ง 5วัตต์ ที่ความถี่ 145.750MHZ ห้อง Ham-Cu Siam Conference  


                                  3.สายนำสัญญาน 10D-FB สายอากาศ 5/8 แลมด้า 2ชั้น ความสูง12เมตร

                       
                                  4.สายอิเตอร์เฟส ทำขึ้นเองโดย e29jau โดยใช้วงจรจากอินเตอร์เน็ตที่สมาชิกได้เเชร์แบ่งปันไว้


เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมงนะค่ะ สมาชิกเดินทางผ่านพื้นที่ อ.เมือง ชุมพร สามารถใช้บริการได้ทุกท่านค่ะ
ขอขอบคุณท่านประธานชมรมฯ HS3FKJ 


แบนด์แพลน (Band Plan) นักวิทยุสมัครเล่น

อัพเดทตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอณุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยได้มีการปรับปรุงแตกต่างจาก แบนด์แพลน (Band Plan) เดิมพอสมควร ความถี่เดิมที่ท่านใช้ประจำอาจจะขัดกับแบนดืแพลนใหม่นี้ก็ได้ เพราะฉนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง

โหมด (Mode)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับระบบโหมด (Mode) ต่างๆ ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นก่อน ดังนี้

การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง (Phone) ให้ใช้รับส่งข่าวสารโดยใช้เสียงพูด (Speech)
การติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (Earth Moon Earth : EME)
การติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (Meteor scatter : MS)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (Continous wave : CW)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated continous wave : MCW)
การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Machine generated mode : MGM)
การติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ Single sideband (SSB)
การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio teletype : RTTY)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data or Packet radio)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (Slow scan television : SSTV)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนเร็ว (Fast scan television : FSTV)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณพัลส์ (Pulse)

ขอบเขตการใช้คลื่นความถี่ สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 28 000 – 29 700 kHz สำหรับการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่น โดยใช้กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 144 – 146.5 MHz โดยใช้กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์ สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 435 – 438 MHz สำหรับการติดต่อสื่สารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 1 260 – 1 270 Mhz สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น



การใช้คลื่นความถี่ 144 – 146.5 MHz

กำหนดคลื่นความถี่ 144.0000 – 144.1000 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME) โดยคลื่นความถี่ 144.0500 MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ CW

กำหนดคลื่นความถี่ 144.1000 – 144.1500 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (MGM) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME)

กำหนดคลื่นความถี่ 144.1500 – 144.3750 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ Single sideband (SSB) และการติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (Meteor scatter : MS) โดยคลื่นความถี่ 144.2000 MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ SSB

กำหนดคลื่นความถี่ 144.3750 – 144.5000 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่นดังนี้

กำหนดคลื่นความถี่ 144.3900 MHz สำหรับการสื่อสารระบบกำหนดตำแหน่งสถานีวิทยุสมัครเล่นอัตโนมัติ
(Automatic Packet Reporting System : ARPS)

- กำหนดคลื่นความถี่ 144.4125 – 144.4375 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่นได้แก่ การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data or Packet radio) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio teletype : RTTY) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (Slow scan television : SSTV) และการติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated continous wave : MCW)

- กำหนดคลื่นความถี่ 144.4500 – 144.4900 MHz สำหรับการใช้งานประเภทให้สัญญาณ (Beacon) ของสถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ เท่านั้น โดยกำหนดให้คลื่นความถี่ 144.4900 MHz สำหรับการใช้งานประเภทให้สัญญาณ (Beacon) แบบ WSPR


กำหนดคลื่นความถี่ 145.8000 – 146.0000 MHz สำหรับการส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นกับสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
กำหนดคลื่นความถี่สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) โดยกำหนดช่องความถี่วิทยุ ดังนี้
ช่องที่   คลื่นความถี่ (MHz)   ลักษณะการใช้งาน

่ช่องที่   คลื่นความถี่ (MHz)   ลักษณะการใช้งาน

1         144.5125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
2         144.5250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
3         144.5375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
4         144.5500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
5         144.5625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
6         144.5750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
7         144.5875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
8         144.6000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
9         144.6125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
10       144.6250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
11       144.6375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
12       144.6500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
13       144.6625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
14       144.6750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
15       144.6875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
16       144.7000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
17       144.7125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
18       144.7250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
19       144.7375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
20       144.7500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
21       144.7625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
22       144.7750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
23       144.7875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
24       144.8000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
25       144.8125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
26       144.8250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
27       144.8375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
28       144.8500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
29       144.8625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
30       144.8750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
31       144.8875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
32       144.9000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงสำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุทั่วไป (General notice and Calling)
33       144.9125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
34       144.9250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
35       144.9375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
36       144.9500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
37       144.9625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
38       144.9750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
39       144.9875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
40       145.0000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง สำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency, Distress and Calling)   
และ เป็นคลื่นความถี่กลางสำหรับประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและพนักงานวิทนุสมัครเล่น

41       145.1375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
42       145.1500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
43       145.1625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
44       145.1750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
45       145.1875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
46       145.2000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
47       145.2125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
48       145.2250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
49       145.2375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
50       145.2500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
51       145.2625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
52       145.2750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
53       145.2875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
54       145.3000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
55       145.3125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
56       145.3250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
57       145.3375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
58       145.3500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
59       145.3625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
60       145.3750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
61       145.3875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
62       145.4000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
63       145.4125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
64       145.4250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
65       145.4375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
66       145.4500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
67       145.4625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
68       145.4750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
69       145.4875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
70       145.7375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
71       145.7500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
72       145.7625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
73       145.7750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
74       145.7875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
84       146.2375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
85       146.2500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
86       146.2625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
87       146.2750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
88       146.2875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
89       146.3000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
90       146.3125               การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
91       146.3250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
92       146.3375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
93       146.3500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
94       146.3625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
95       146.3750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
96       146.3875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
97       146.4000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
98       146.4125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
99       146.4250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
100     146.4375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
101     146.4500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
102     146.4625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
103     146.4750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
104     146.4875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง

คลื่นความถี่สำหรับสถานีทวนสัญญาณ
คลื่นความถี่สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบ Semi-duplex หรือสถานีรีพีทเตอร์ที่เราคุ้นเคยนั่นแหละครับ ดังนี้

คู่ที่        คลื่นความถี่รับ(MHz)        คลื่นความถี่ส่ง(MHz)            ลักษณะการใช้
1          145.0125                   145.6125                   สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
                                                                 (สำรองการใช้งานเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
2          145.0250                   145.6250                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
3          145.0375                   145.6375                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
4          145.0500                   145.6500                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
5          145.0625                   145.6625                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
6          145.0750                   145.6750                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
7          145.0875                   145.6875                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
8          145.1000                   145.7000                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
9          145.1125                   145.7125                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
10        145.1250                   145.7250                   สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
11        145.5000                   146.1000                   สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
12        145.5125                   146.1125                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
13        145.5250                   146.1250                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
14        145.5375                   146.1375                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
15        145.5500                   146.1500                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
16        145.5625                   146.1625                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
17        145.5750                   146.1750                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
18        145.5875                   146.1875                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
                                                                (สำรองการใช้งานเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
19        145.6000                   146.2000                  สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
                                                                (สำรองการใช้งานเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

หมวด 6 สัญญาณเรียกขาน (Call sign)

หมวด 6
สัญญาณเรียกขาน (Call sign)

หมวดนี้ก็สำคัญไม่แพ้หมวดอื่นๆ และก็มีประเด็นที่ฮือฮาสนั่นวงการอยู่ด้วย คือ การเพิกถอนสัญญาณเรียกขานของผู้ที่ไม่ต่อใบอนุญาต ลองมาดูกันว่ามีประเด็นอะไรอีกบ้างหรือไม่

เดิมหมวดนี้ไม่มีอะไรโดดเด่น เป็นเพียงข้อกำหนดกว้างๆ ว่าผู้ที่เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขานตอนที่ไปขอใบอนุญาต และสัญญาณเรียกขานก็เป็นไปตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ เท่านั้นจบ ซึ่งของใหม่ก็ระบุไว้ไม่ได้ต่างกัน เพียงแต่มีข้อที่เพิ่มเข้ามาอีก

เรื่องแรกเลยเป็นเรื่องของกรณีชาวต่างประเทศที่มาเทียบประกาศนียบัตรกับไทย แล้วจะได้รับสัญญาณเรียกขานในหมวด "HS0Zxx" ซึ่งของใหม่จะไม่กำนดแบบนี้แล้วแต่จะกำหนดให้ใช้ "HS0/" แทนของเดิม เช่น นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน มีสัญญาณเรียกขาน K2JFW เมื่อมาเทียบกับไทยแล้วจะได้รับสัญญาณเรียกขานไทย เป็น HS0/K2JFW

ความเห็นที่ได้เสนอไปนั้นจะให้คงการกำหนดสัญญาณเรียกขาน "HS0Zxx" ให้กับชาวต่างประเทศเช่นเดิม แต่มีเงือนไขเพิ่มเข้ามา ได้แก่
  1. ได้รับอนุญาตให้พักอาศัยในประเทศไทย (Residence Visa/Permanent Visa)
  2. ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย (Work Permit Visa)
  3. ได้รับอนุญาตให้ใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย (Retirement Visa)

สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาชั่วคราวสั้นๆ ก็ให้กำหนดสัญญาณเรียกขาน "HS0/" เพื่อไม่ให้เปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เพราะมาเพียงสั้นๆ และอาจไม่กลับมาอีกเลย ไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดสัญญาณเรียกขาน "HS0Zxx" ไปให้

แต่ไม่แน่ใจว่าเหตุใดจึงถูกตัด หรือแปลความเป็นอย่างที่ร่างกำหนดมา คงต้องไปให้ข้อมูลเพิ่มหรือสอบถามถึงเหตุผลกันต่อไป

เรื่องยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ มีการกำหนดว่าจะต้องแจ้งสัญญาณเรียกขานของตนเองอย่างน้อย 1 ครั้งทุกๆ 10 นาทีไม่ว่าจะเป็นการใช้งานสถานีวิทยุสมัครเล่นชนิดใดก็ตาม (สถานีวิทยุสมัครเล่นทั่วไป สถานีทวนสัญญาณ สถานีเชื่อมต่อโครงข่ายสาธารณะ และอื่นๆ) เพื่อการแสดงตัวตนที่ชัดเจน

และยังกำหนดอีกด้วยว่าการส่งสัญญาณเรียกขานนั้นต้องกระทำด้วยประเภทของการส่งสัญญาณที่อนุญาตในช่วงความถี่นั้นๆ เช่น ถ้าอยู่ในแถบความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานรหัสมอร์ส (CW) ก็ต้องส่งสัญญาณเรียกขานด้วยรหัสมอร์ส ตรงไหนใช้เสียงพูดแบบ SSB ใช้ต้องส่งด้วย SSB ตรงไหนใช้ FM ก็ต้องส่งเสียงพูดด้วย FM และถ้าเป็น Mode อื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน

มาถึงประเด็นร้อนแรงที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือเรื่องของการเพิกถอนสัญญาณเรียกขาน หากไม่ต่อใบอนุญาต โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ 3 ข้อดังนี้
  1. กรณีที่ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับเดิมหมดอายุไปแล้ว เป็นระยะเวลาเกินกว่าสองปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุ ซึ่งพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นยังไม่ได้ดำเนินการขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่และชำระค่าปรับกรณีการยื่นคำขอใบอนุญาตภายหลังจากใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุตามที่กำหนด
  2. กรณีพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตแล้ว
  3. กรณีพนักงานวิทยุสมัครเล่นถูกเพิกถอนใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นตามหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษในภาคผนวก 7


สำหรับข้อ 2 และ 3 นั้นไม่ต้องอธิบายกันมากก็เข้าใจได้ สำหรับข้อ 1 คือถ้าใบอนุญาตเดิมหมดอายุไปแล้วเกินกว่า 2 ปี แล้วยังไม่ได้ขอใบอนุญาตใหม่ ก็จะเพิกถอนสัญญาณเรียกขานนั้นคืน ซึ่งก็จะมีประเด็นที่ต้องคิดตามมาว่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น

  1. สัญญาณเรียกขานเดิมที่ถูกเพิกถอนไปนั้น จะทำอย่างไร จะไปกำหนดให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นคนใหม่ได้เลยทันทีหรือไม่
  2. กสทช มีระบบในการบันทึกอย่างไรเรื่องการกำหนดสัญญาณเรียกขานของบุคคล เช่น สัญญาณเรียกขาน "HS2JFW" ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2555 นั้นถูกกำหนดให้กับใคร เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปอาจไม่ได้ถูกกำหนดให้กับคนเดิมอีกต่อไปแล้ว หาก HS2JFW ไม่ได้ขอรับใบอนุญาตฉบับใหม่ เพราะฉบับเดิมได้หมดอายุลงไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553
  3. ถ้ากรณีที่ HS2JFW ได้ถูกเพิกถอนสัญญาณเรียกขานไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2555 แล้วมีความประสงค์จะกลับมาเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นใหม่ สามารถทำได้หรือไม่
  4. หากสามารถทำได้ จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเลน่ใหม่หรือเปล่า หรือว่าไปขอใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ได้เลย
  5. หากไปขอใบอนุญาตฉบับใหม่จะต้องเสียเงินค่าปรับย้อนหลังหรือเปล่า ถ้ากรณีเสียเงินค่าปรับจะเริ่มนับเวลาตั้งแต่เมื่อใด เริ่มนับจากวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุเลยหรือเปล่า
  6. ถ้ากรณีที่สัญญาณเรียกขานเดิมของผู้ที่ไปใบอนุญาตใหม่ หลังจากที่ถูกเพิกถอนไป ยังไม่ได้ถูกำหนดให้กับผู้อื่น จะมีสิทธิขอใช้สัญญาณเรียกขานเดิมได้หรือไม่
  7. กสทช จะมีระบบที่ให้นักวิทยุสมัครเล่นได้สามารถสืบค้น และตรวจสอบได้หรือไม่ว่าปัจจุบันสัญญาณเรียกขานนี้ได้ถูกกำหนดให้กับใคร
นี่เป็นตัวอย่างที่ต้องคิดกันต่อไปอีก อาจมีท่านอื่นสงสัยอีกหลายประเด็นก็เป็นไปได้
 
ขอขอบคุณ เว็ป :http://hs2jfw.blogspot.com/2013/09/6-call-sign.html

ระบบตรวจสอบสัญญาณเรียกขานที่ถูกยกเลิก เนื่องจากหมดอายุมากกว่า 2 ปี ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2558

ระบบตรวจสอบสัญญาณเรียกขานที่ถูกยกเลิก
เนื่องจากหมดอายุมากกว่า 2 ปี ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2558

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วงจรอินเตอร์เฟส Interface Echolink

 วงจรอินเตอร์เฟส (Interface) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับวิทยุเครื่องลิ้งค์ โดยมีหลักการว่า จะทำอย่างไรเมื่อเครื่องลิ้งค์รับสัญญาณเสียงเข้ามาแล้ว ให้เอาเสียงนั้นส่งเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบอกคอมพิวเตอร์ว่ามีเสียงเข้ามาจากวิทยุแล้วน่ะ...!   ในทางกลับกัน จะทำอย่างไรจึงจะสามารถเอาเสียงที่ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วส่งไปยังวิทยุเครื่องลิ้งค์ให้ออกอากาศได้...!  ผมได้แยกการทำงานของอินเตอร์เฟสที่ใช้กับ Echolink ออกได้ 3 แบบคือ

 1. อินเตอร์เฟสแบบ Vox ล้วน ๆ (Pure VOX) คลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
 2. อินเตอร์เฟสแบบ กึ่ง Vox กึ่ง Carrier control (Semi VOX - Semi Carrier) คลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 3. อินเตอร์เฟสแบบ Carrier control คลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


1. อินเตอร์เฟสแบบ Vox ล้วน ๆ (Pure VOX) อินเตอร์เฟสแบบนี้เหมาะกับเครื่องลิ้งค์ที่เป็นชนิดมือถือรุ่นที่มีระบบ VOX ติดมากับเครื่อง   เช่น Yaesu FT-411 , FT-415 , FT-416 เป็นต้น@ข้อดี (1).ไม่ต้องทำวงจรอิเล็คทรอนิคส์ในส่วนที่เป็นแจ็คที่ต่อกับ Comport  ทำเฉพาะส่วนที่เป็นแจ็คเสียบ 4 ตัวแค่นั้นเอง  /// (2).กรณีมีสมาชิกในความถี่ลิ้งค์กดคีย์ค้าง (แต่ไม่พูด) ระบบจะไม่ทำงาน ซึ่งเป็นการลดการกวนใน echolink ได้ด้วยครับ@ข้อเสีย เสียงที่ เข้า และ ออก จากระบบอาจมีการขาดหายเป็นช่วง ๆ เพราะการเซ็ตเป็นระบบ vox นั้นจะอาศัยเสียงที่เราพูดคุยในการกระตุ้นให้ระบบทำงาน  เมื่อไหร่ที่เสียงพูดหยุดลง (เช่นเรายังกดคีย์อยู่ แต่กำลังนึกคำที่จะพูด) ระบบก็จะตัดทันที อาจทำให้คู่สนทนาของเราเข้าใจว่าเราปล่อยคีย์แล้ว

ในโปรแกรม Echolink ให้ไปที่เมนู  Tools  เลือก  Sysop Settings  แล้วจะได้หน้าจอตามภาพข้างล่างนี้1. เลือกป้าย RX Ctrl  (เป็นการควบคุมการรับเสียงของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาทางช่องไมค์หรือช่อง Line In จากวิทยุฯ)
2. คลิ๊กช่อง VOX 
 (เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานแบบ VOX ในการรับเสียงจากวิทยุเครื่อง Link)
3. เลือกค่า VOX Delay (เป็นค่าการหน่วงเวลาในความต่อเนื่องของเสียงที่เข้าไปควบคุมระบบ VOX )
4. เลือกป้าย TX Ctrl  (เป็นการควบคุมการส่งของเครื่องวิทยุสื่อสารที่เป็นเครื่อง Link )5. คลิ๊กช่อง External VOX (หมายถึงการส่งของวิทยุจะต้องเซ็ตแบบ VOX เอาไว้)



2. อินเตอร์เฟสแบบ กึ่ง Vox กึ่ง Carrier Control (Semi VOX - Semi Carrier) อินเตอร์เฟสแบบนี้ต้องใช้ความสามารถในการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์นิดหน่อย@ ข้อดี  (1).ไม่ต้องแกะเครื่องวิทยุเพื่อหาจุดต่อสัญญาณ RX เหมือนกับแบบสุดท้าย  ///  (2). เสียงด้านที่เรารับมาจากเพื่อนสมาชิก (เสียงที่ออกมาจากคอมพิวเตอร์) จะไม่มีอาการขาดหาย เพราะด้านนั้นเราใช้วิธี carrier control ผ่านทาง Comport ของเครื่องคอมพิวเตอร์@ ข้อเสีย  หากเรากดคีย์แล้วพูดด้วยคำพูดที่ไม่ต่อเนื่อง (เช่นหยุดคิดขณะที่กดคีย์)  สัญญาณเสียงที่เราส่งไปหาเพื่อนสมาชิก อาจมีอาการขาดหายเป็นช่วง ๆ ได้ 

ในโปรแกรม Echolink ให้ไปที่เมนู  Tools  เลือก  Sysop Settings  แล้วจะได้หน้าจอตามภาพข้างล่างนี้1. เลือกป้าย RX Ctrl  (เป็นการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับเสียงจากวิทยุสื่อสาร ที่เข้ามาทางช่องไมค์หรือช่อง Line In)
2. คลิ๊กช่อง VOX  (เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานแบบ VOX ในการรับเสียงจากวิทยุเครื่อง Link)
3. เลือกค่า VOX Delay (เป็นค่าการหน่วงเวลาในความต่อเนื่องของเสียงที่เข้าไปควบคุมระบบ VOX )
4. เลือกป้าย TX Ctrl  (เป็นการควบคุมการส่งออกอากาศของเครื่องวิทยุสื่อสารที่เป็นเครื่อง Link)5. คลิ๊กช่อง RTS (หมายถึงเราใช้ขา 7 ของ serial port ในการควบคุมการส่งของวิทยุเครื่อง Link)6. เลือกช่อง Comport ที่เราต่อสาย Interface เอาไว้



3. อินเตอร์เฟสแบบ Carrier Control  อินเตอร์เฟสแบบนี้ต้องใช้ความสามารถในการบัดกรีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ และความกล้าในการที่จะแกะเครื่องเพื่อหาจุดต่อสัญญาณ RX (และนั้นหมายถึงการเสี่ยงต่อความเสียหายที่จะเกิดกับเครื่องวิทยุของท่านด้วย)@ ข้อดี  เสียงที่เรารับมาจากเพื่อนสมาชิก (เสียงที่ออกมาจากคอมพิวเตอร์) และเสียงที่เราส่งไปยังเพื่อนสมาชิก (เสียงจากเครื่องลิ้งค์เข้าคอมพิวเตอร์) จะไม่มีอาการขาดหายเลย เพราะทั้งสองด้านเราใช้วิธีควบคุมแบบ carrier control ผ่านทาง Comport ของเครื่องคอมพิวเตอร์@ ข้อเสีย  (1). การควบคุมแบบนี้หากเพื่อนสมาชิกท่านใดกดคีย์ค้าง (แต่ไม่พูด) ในความถี่ลิ้งค์ จะทำให้ระบบทำงาน (กลายเป็น QRM ไปโดยปริยาย)  /// (2).เราจะต้องแกะเครื่องวิทยุที่แสนรักเพื่อทำการต่อสัญญาณ RX ออกมาใช้กับวงจรอินเตอร์เฟส

ในโปรแกรม Echolink ให้ไปที่เมนู  Tools  เลือก  Sysop Settings  แล้วจะได้หน้าจอตามภาพข้างล่างนี้1. เลือกป้าย RX Ctrl  (เป็นการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับเสียงจากวิทยุสื่อสาร ที่เข้ามาทางช่องไมค์หรือช่อง Line In)
2. คลิ๊กช่อง Serial CTS (หมายถึงเราใช้ขา 8 ของ serial port ในการควบคุมการรับเสียงของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากวิทยุฯ)
3. เลือกค่า VOX Delay (เป็นค่าการหน่วงเวลาในความต่อเนื่องของเสียงที่เข้าไปควบคุมระบบ VOX )
4. เลือกป้าย TX Ctrl  (เป็นการควบคุมการส่งของออกอากาศเครื่องวิทยุสื่อสารที่เป็นเครื่อง Link)5. คลิ๊กช่อง RTS (หมายถึงเราใช้ขา 7 ของ serial port ในการควบคุมการส่งของวิทยุเครื่อง Link)6. เลือกช่อง Comport ที่เราต่อสาย Interface เอาไว้