วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

แนวทางในการสร้างแหล่งจ่ายไฟสำหรับวิทยุสื่อสาร

แนวทางในการสร้างแหล่งจ่ายไฟสำหรับวิทยุสื่อสาร

รูปแบบที่ 1. วงจรแหล่งจ่ายไฟ 13.8v 24A


รูปแบบที่ 2. วงจรแหล่งจ่ายไฟ 13.8v 30A


รูปแบบที่ 3. วงจรแหล่งจ่ายไฟ 9-14v 10A


รูปแบบที่ 4. วงจรแหล่งจ่ายไฟ 12v 10A




เบื้องหลังคำคุยของวิปที่มีชื่อว่า “คูลร็อด”

เบื้องหลังคำคุยของวิปที่มีชื่อว่า “คูลร็อด”
 ในกระบวนการสายอากาศแบบวิป (whip หมายถึง ส่วนแผ่คลื่นของสายอากาศรถยนต์ที่เป็นเส้นตรงเรียว โค้งงอได้คล้ายแส้ม้า) ด้วยกัน เห็นจะไม่มีใครคุยได้มากเท่าวิปที่ใช้ชื่อการค้าว่า “คูลร็อด (Kulrod)” ของบริษัทลาร์เซ่น อิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นยี่ห้อเดียวที่คุยเรื่องความดีเด่นของวิปเป็นหลัก ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ จะโฆษณาสายอากาศทั้งตัว จุดเด่นที่เขาโฆษณาตลอดระยะเวลาร่วม 20 ปีคือ ความมีประสิทธิภาพดีของวิปหรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าวิปเส้นนี้มีการสูญเสียน้อยมาก พูดไปไม่พิสูจน์ ก็คงไม่มีใครเชื่อ


 ดังนั้น เขาจึงโฆษณาท้าให้ส่งออกอากาศด้วยกำลังส่ง 100 วัตต์ นาน 1 นาที แล้วเอามือแตะตลอดตัววิปดู จะพบว่าวิปสเตนเลสสตีลธรรมดาของยี่ห้ออื่นจะอุ่นๆ ขณะที่วิปคูลร็อดของเขาจะเย็นสมชื่อคูลร็อด ซึ่งเป็นคำอ่านที่หมายถึง ลวดเย็น นั่นแสดงว่าวิปยี่ห้ออื่นมีการสูญเสียมากกว่า ทำให้กำลังส่งส่วนหนึ่งสูญเสียกลายเป็นความร้อนไป และทำให้กำลังออกอากาศลดน้อยลง


หลังโฆษณาวิธีนี้ ทำให้สายอากาศรถยนต์ของเขาไม่ว่าจะเป็น ? แลนด้า และ 5/8 แลนด้า ได้รับความสนใจ และแพร่สะพัดมาถึงเมืองไทยเป็นเวลานาน จนผู้ที่ใช้งานอดจะภูมิใจและคุยถึงคำว่า คูลร็อดไม่ได้ แต่อะไรล่ะที่ทำให้ “คูลร็อด” มีการสูญเสียต่ำกว่าแบบอื่น


นายจิม ลาร์เซ่น นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน ซึ่งเริ่มเล่นสายอากาศมาตั้งแต่เด็ก (เมื่อราว 50 ปีก่อน) และค้นพบว่าหากต้องการสายอากาศที่ดีสักต้นหนึ่ง เขาก็ต้องลงมือสร้างเอง จนในปี พ.ศ.2507 ขณะที่เขาพยายามหาวิธีการผลิตสายอากาศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เขาพบว่า ปรากฎการณ์ที่ผิว (skin effect) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สายอากาศรถยนต์ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กมีการสูญเสียมากกว่าสายอากาศของสถานีประจำที่มาก เพราะคลื่นวิทยุจะวิ่งที่ผิวของตัวแผ่คลื่นเท่านั้น  จะ วิ่งได้ลึกมากหรือน้อยขึ้นกับความถี่ของคลื่นวิทยุ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนแผ่คลื่น ถ้าความถี่สูงขึ้นคลื่นก็จะวิ่งได้ลึกน้อยลง เช่น ความถี่ 150 MHz คลื่นจะวิ่งเข้าไปลึกเพียงประมาณ 0.0064 มม. เท่านั้น และที่ความถี่ 900  MHz จะวิ่งเข้าได้ลึกน้อยลงเหลือเพียง 0.003 มม. เท่านั้น ทำให้ส่วนแผ่คลื่นมีความต้านทานต่อคลื่นวิทยุเพิ่มขึ้น ดังนั้นวิปสเตนเลสตีลเบอร์ 17-7PH ซึ่งแม้จะได้รับความนิยมจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ในอเมริกานำมาทำสายอากาศรถยนต์เนื่องจากมีความแข็งแรงดีและอ่อนตัวได้ดี (ขนาดโค้งงอลงกระเป๋าเดินทางแล้วยังสปริงตัวกลับมาเหยียดตรงตามเดิมได้) แต่ก็มีความนำไฟฟ้าไม่ดีเท่าที่ควรสำหรับคลื่นวิทยุ


หลังจากทดลองมานาน จิม พบว่าเมื่อเคลือบผิววิปสเตนเลสสตีลด้วยนิเกิล,ทองแดง,นิเกิลและโครเมี่ยมตามลำดับจะทำให้สายอากาศมีความนำไฟฟ้าดีขึ้น และนี่คือที่มาของวิปคูลร็อดซึ่งได้ผลิตจำหน่ายโดยบริษัทของเขา วิปคูลร็อดเริ่มต้นขบวนการผลิตด้วยการเคลือบผิวสเตนเลสสตีลด้วยชั้นบางๆของนิเกิล แล้วจึงตามด้วยชั้นของทองแดงซึ่งมีความนำไฟฟ้าดีมาก เสร็จแล้วจึงเคลือบซ้ำด้วยชั้นบางๆ ของนิเกิลและโครเมี่ยมตามลำดับ
ถึงตรงนี้อาจสงสัยว่าทำไมต้องเคลือบผิวซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ นิเกิลชั้นแรกคั่นระหว่างทองแดงและสเตนเลสเพื่อเป็นฐานให้ทองแดงเคลือบติดได้แน่นดี และช่วยคั่นระหว่างทองแดงและสเตนลเสสตีลเพื่อลดการผุกร่อนทางไฟฟ้าเคมี (galvanic corrosion) ที่จะเกิดขึ้นหากให้โลหะสองชนิดนั้นสัมผัสกันโดยตรง ทีนี้หากเอาโครเมี่ยมมาเคลือบผิวชั้นนอกของทองแดงเลยโดยตรงจะเกาะติดได้ไม่ดีกระเทาะได้ง่าย และการที่มีศักดาไฟฟ้าเคมีต่างกันมาก ก็จะทำให้เกิดการผุกร่อนได้ง่าย จึงต้องใช้นิเกิลมาคั่น ดังนั้นหน้าที่ของโครเมี่ยมและนิเกิลที่ชั้นนอก คือ  ลดการผุกร่อนเนื่องจากสภาพบรรยากาศและเพื่อให้ผิวเป็นเงาสวยงาม ในรูปแสดงโครงสร้างการเคลือบผิวของวิปคูลร็อด (Kulrod) และวิปคูลร็อดที (Kulrod T) สีดำ ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาล่าสุดของบริษัทลาร์เซ่นอิเล็กทรอนิกส์ (ชั้นต่างๆ ที่แสดงในที่นี้ไม่ได้เขียนตามสัดส่วนความหนาจริง)
เนื่องจากชั้นนอกสุด 2 ชั้น (โครเมี่ยมและนิเกิล) บางมากๆ จึงไม่ไปรบกวนความนำไฟฟ้าที่ดีของทองแดงที่ความถี่ไม่สูงเกินไปนัก ดังนั้นสำหรับย่านความถี่ VHF ด้านต่ำจึงใช้งานได้ดี และก็เป็นที่นิยมใช้ในหมู่ผู้ชอบของคุณภาพดีในเมืองไทย


 อย่างไรก็ตาม พอความถี่ใช้งานสูงขั้นถึงย่าน UHF ซึ่งปรากฎการณ์ที่ผิงทำให้คลื่นอยู่ที่ผิวมากขึ้น ชั้นนอกสุด 2 ชั้น จึงเริ่มมีผลกับความนำไฟฟ้าของส่วนแผ่คลื่น ทำให้มีการสูญเสียสัญญาณมากขึ้น วิปคลร็อดจึงเริ่มจะคุยไม่ได้อย่างเดิมอีก ยิ่งระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรวงผึ้ง (cellular mobile radio telephone) ซึ่งใช้ย่านความถี่แถว 800-900 MHz ได้รับความนิยมทั่วโลก บริษัทลาร์เซ่นอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องดิ้นรนพัฒนาวิปต่อไปอีก


 สิ่งที่เขาต้องการคือ จะทำอย่างไรจึงจะหุ้มทองแดงให้ทนต่อสภาพมลภาวะบนท้องถนนโดยไม่ไปมีผลลบต่อความนำไฟฟ้าที่ดีของทองแดง ในที่สุดในปี พ.ศ. 2527 บริษัทลาร์เซ่นจึงได้ออกวิปรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนของเดิม มีชื่อทางการค้าว่า คูลร็อดที (Kulrod T) โดยตัวทีหมายถึง เทฟล่อน ซึ่งขบวนการผลิตทำเช่นเดียวกับคูลร็อด คือ เอาสเตนเลสสตีลเบอร์ 17-7 PH มาเคลือบผิวบางๆ ด้วยนิเกิลแล้วเคลือบหนาหน่อยด้วยทองแดง แต่แทนที่จะชุบนิเกิลและโครเมี่ยมอีก 2 ชั้น กลับเคลือบทองแดงด้วยเทฟล่อนสีดำ ซึ่งอ่อนตัวได้ดีเพียงชั้นเดียว เนื่องจากเทฟล่อนเป็นฉนวนที่ดีมาก ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กจึงไม่มีผลไปรบกวนกับการทำงานของสายอากาศ เสมือนหนึ่งว่าทองแดงเป็นผิวชั้นนอกสุดที่นำคลื่นวิทยุ ว่าแล้วก็ขายวิปรุ่นคูลร็อดทีรุ่นใหม่นี้ให้ท่านทั้งหลายนำไปทดแทนวิปคูลร็อดเดิม โดยมีให้เลือกหลายช่วงความยาวสำหรับย่านความถี่ตั้งแต่ 136 MHz ขึ้นไป


วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ประวัติของรหัสมอร์ส

ประวัติของรหัสมอร์ส


นักวิทยุสมัครเล่นแทบทุกคนคงรู้จักรหัสมอร์ส (ที่จริงคงไม่จำกัดเฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นหรอก คนธรรมดาทั่วไปก็คงรู้จักล่ะนะ) โดยเฉพาะมีเพื่อนนักวิทยุด้วยกันบางกลุ่มใช้งานอยู่ ว่าเป็นการใช้เสียงสั้นและเสียงยาวมาผสมกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้  เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าใช้เพื่ออะไร เพื่อความเท่หรือเปล่า เพราะเดี๋ยวนี้เราก็ใช้การพูดกันได้แล้ว เข้าใจง่ายกว่า ไม่ต้องฝึกไม่ต้องหัดด้วย ซึ่งการใช้รหัสมอร์สในกิจการวิทยุสมัครเล่นในปัจจุบันนั้นเท่ไหม เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราเก็บเอาไว้คุยกันในบทความต่อไปนะครับ

ความเป็นมาของรหัสมอร์ส

ที่จริงรหัสมอร์สถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นเวลานานก่อนที่จะมีการคิดค้นวิทยุสื่อสารด้วยซ้ำไป โดยใช้การสื่อสารแบบมีสาย (wired) ก็คือสายโทรเลขนั่นเอง (ดูภาพที่ 1) เดิมทีรหัสมอร์ส ซึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย แซมมวล มอร์ส (ดูภาพที่ 2) ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วนาน แซมมวล มอร์ส เป็นศิลปินวาดภาพไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์  มอร์ส ใช้การส่งสัญญาณเป็นรหัสตัวเลข เมื่อฝั่งผู้รับได้รับรหัสตัวเลขแล้วก็นำไปเปิดคู่มือเทียบว่าตัวเลขนั้นคือคำว่าอะไร ดังนั้นคู่มือที่ว่านี้จึงใหญ่โตระดับพจนานุกรมกันเลยทีเดียว



ภาพที่ 1รหัสมอร์ส ใช้กันเริ่มแรก
กับการสื่อสารแบบมีสาย ก็คือสาย
โทรเลขนั่นเอง ในประเทศไทยเอง
ช่วงปี 2520 ถือว่ารุ่งเรืองมาก


ภาพที่ 2 แซมมวล มอร์ส คิดค้นการ
ส่งสัญญาณสั้นและยาวแทนตัวเลขต่างๆ


การพัฒนารหัสเบื้องต้น

อย่างที่เล่าให้ฟังแต่แรกว่า แซมมวล มอร์ส เองไม่ได้ชำนาญด้านเทคนิค การพัฒนาก็งงๆ อยู่พักหนึ่ง จนกระทั่ง แซมมวล มอร์ส มีผู้ช่วยคือ อัลเฟรด เวล (Alfred Vail) ซึ่งชำนาญด้านเทคนิค ก็คิดว่า ควรส่งเสียงเฉพาะที่เป็นเสียงประจำของแต่ละตัวอักษรออกไปเลย  ฝั่งผู้รับจะได้ถอดเสียงออกมาเป็นข้อความได้โดยไม่ต้องไปเปิดคู่มือเทียบถอดรหัสหาความหมายอีก  โดยแนวความคิดคือ ตัวอักษรไหนที่ใช้มากที่สุด ควรมีเสียงง่ายที่สุด สั้นที่สุด เช่น ตัว E (dit) ตัว A (ditdah) แล้วก็ไล่กันไป

ในช่วงแรกที่ทั้ง มอร์ส และ เวล ออกแบบระบบโทรเลขนั้น พวกเขาตั้งใจว่าจะให้พิมพ์ลงบนกระดาษแล้วอ่านในภายหลัง (ดูภาพที่ 3) แต่ก็พบว่า หลังจากการฝึกฝน คนเราสามารถฟังเสียงเฉพาะหนึ่งๆ แล้วแยกความแตกต่างออกมาเป็นแต่ละตัวอักษรได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องพิมพ์ลงบนกระดาษก่อน จึงใช้การฟังเสียงเอาโดยตรงแทนเช่นในปัจจุบัน

ภาพที่ 3 เครื่องรับรหัสในยุคแรกๆ
จะพิมพ์  (มีกลไก ใช้ปากกาหรือ
ดินสอเพื่อเขียน) เป็นเส้น สั้น
และยาว ลงบนแถบกระดาษ

การพัฒนารหัสมอร์ส

ในปี 1948 เฟรดเดอริค คลีมันส์ เกิร์ค ได้ดัดแปลงเสียงของแต่ละตัวอักษรเสียใหม่ เรียกว่าเปลี่ยนจากที่มอร์สออกแบบไว้แต่แรกราวครึ่งหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อีกหลายครั้งจนกระทั่งได้เป็นรหัสมอร์สตัวหนังสือภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นมาตรฐานนานาชาติในปัจจุบัน ดูภาพที่ 3


ภาพที่ 3 รหัสมอร์สสากลในปัจจุบัน

รหัสมอร์สผ่านคลื่นวิทยุ

ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2444 กูลิเอโม มาร์โคนี และผู้ช่วย จอร์จ เคมพ์ ได้ร่วมกันส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก (ใช้สายอากาศผูกกับว่าว) จากโพลดิว (Poldhu) (ดูภาพที่ 4) ในประเทศอังกฤษไปยังซิกแนลฮิล (Signal Hill, Newfoundland) (ดูภาพที่ 5) ซึ่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และพ้นระยะสายตา (คือ ติดส่วนโค้งของโลก)  ในครั้งนั้นตัวหนังสือที่ส่งเป็นตัวแรกคืออักษร S (รหัสมอร์สคือ ditditdit) ในวันนี้ลมแรงและสายอากาศที่ขึ้นไปกับว่าวก็เสียหาย ประมาณว่ารับได้แต่ตัวอักษร S แต่รับข้อความอะไรไม่ได้อีก จนในวันต่อมาวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2444 จึงนำว่าวตัวที่สองขึ้นไปใหม่ และสามารถส่งข้อความได้สำเร็จ นี่เป็นการเปิดโลกการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุที่สามารถสะท้อนชั้นบรรยากาศได้ทำให้สามารถติดต่อได้ในระยะทางไกลกว่าที่ส่วนโค้งของโลกบดบังเอาไว้


ภาพที่ 4 สถานีส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุ
ผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกที่ Poldhu


ภาพที่ 5 การรับสัญญาณที่ Signal Hill
ใช้ว่าวเพื่อดึงสายอากาศขึ้นไปในที่สูง


เรื่องน่าเสียดาย

การคิดค้นการส่งสัญญาณของ แซมมวล มอร์ส นี้ ถูกเขานำไปจดสิทธิบัตรเอาไว้ (โดยตกลงว่าใช้ชื่อของ แซมมวล มอร์ส คนเดียว) ซึ่งจะเห็นว่าที่จริงแล้ว อัลเฟรด เวล มีส่วนในการพัฒนาอย่างมาก (คงได้ผลตอบแทนเป้นรูปอื่นแทน เช่น หุ้น)  จากนั้นก็ใช้เวลานานกว่าจะถูกนำไปใช้ในการสื่อสาร (แบบโทรเลข มีสาย) จริง ซึ่งทำให้ มอร์ส กลายเป็นคนร่ำรวยไปเลย ส่วน อัลเฟรด เวล ได้ขายหุ้นออกไปก่อนที่กิจการจะรุ่งเรือง นับว่าน่าเสียดายมากทีเดียว

เป็นอย่างไรครับ เรื่องราวโดยย่อของที่มาของรหัสมอร์สที่แม้ในปัจจุบันก็ยังถูกใช้งานเป็นประจำทุกวันโดยนักวิทยุสมัครเล่น  ในบทความหน้าเราจะมาคุยกันต่อว่าทำไมนักวิทยุสมัครเล่นบางกลุ่มยังคงชื่นชอบรหัสมอร์สอยู่มันมีข้อดีอย่างไร ไว้ติดตามกันใหม่คราวหน้านะครับสำหรับคราวนี้ต้องขอกล่าวคำว่า




วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ค่า SWR คืออะไร


 เมื่อคุณกดปุ่ม PTT และพูดออกอากาศ เสียงพูดของคุณถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นวิทยุ ( RADIO FREQUEN หรือRF ) ที่วิ่งไปตามสายอากาศด้วยความเร็วสูง RF บางส่วนเดินทางถึงสายอากาศ บางส่วนเปลี่ยนไปเป็นความร้อนในสายนำสัญญาณและข้อต่อต่างๆแต่RF ส่วนใหญ่เดินทางถึงสายอากาศและแพร่กระจายออกไป

            ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดูแล้วเป็นไปด้วยความราบรื่น แต่บางสิ่งที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น สายอากาศและสายนำสัญญาณเกิดขัดแย้งกัน ซึ่งการขัดแย้งเกิดขึ้นในรูปของความของแตกต่างของ IMPEDANCE RFส่วนใหญ่แพร่กระจายออกไปทางสายอากาศ แต่ RF บางส่วนสะท้อนกลับมาที่เครื่องวิทยุตามสายนำสัญญาณ RF ที่สะท้อนกลับมานั้นไม่ได้หายไปไหนกลับสะท้อนไปที่สายอากาศอีกครั้งและแพร่ กระจายออกไป RF ที่เหลือสะท้อนกลับไปที่เครื่องวิทยุอีก การสะท้อนไปมาของ RF ระหว่างเครื่องวิทยุและสายอากาศโดยมีสายนำสัญญาณเป็นเครื่องเชื่อม เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็วและต่อเนื่องขณะนี้มีพลังงานเกิดขึ้นที่เครื่อง วิทยุคือ RF ที่ไปข้างหน้ารวมกับRF ที่สะท้อนกลับมาการรวมของพลังงานทั้ง 2 นี้ซับซ้อนซึ่งเยกการรวมกันนี้ว่า STANDING WAVE

         เมื่อใช้ SWR METER ต่อระหว่างเครื่องวิทยุและสายอากาศ SWR METER จะคำนวนการรวมกันของพลังงานทั้งสองนั้นและให้ผลลัพธ์เป็นตัวเลข ตัวอย่างเช่น 1.5 : 1 หรือ 2 : 1 ( การเรียกค่า SWR ต้องใช้ค่า IMPEDANCE ประมาณ 50 โอห์ม เป็นตัวเปรียบเทียบในที่นี้คือ 1 ดังนั้น การเรียกSWR ต้องเป็น 1.5 :1 ไม่ใช่  1 : 1.5 ) ค่า SWR ที่สูง หมายถึง RF ที่สะท้อนกลับมาที่เครื่องวิทยุมีมาก

        เราควรให้ความสนใจในค่า SWR มากน้อยเพียงใด?

       บางครั้งการเราให้ความสนใจกับค่า SWR ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้งก็เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ การที่จะปรับแต่งค่า SWR เท่ากับ 1 : 1 นั้นบางครั้งเป็นความพยายามที่เสียเปล่า


เพิ่มเติม :
 SWR ย่อมาจากคำว่า Standing wave ratio (อัตราส่วน) เป็นผลรวมของ Travclling กับ Reflected wave โดยไม่คิดค่าเวลา โดยค่าของ SWR สัมพันธ์กับค่า VSWR ดังนี้

SWR แบ่งออกเป็น 2 กรณี
1.Voltage standing wave ratio (VSWR)
2.Current standing wave ratio (ISWR)

โดยปกติแล้วจะวัด ค่า VSWR และ ISWR ที่จุดเดียวกัน จึงนิยมใช้ค่า VSWR ในการวิเคราะห์ และ VSWR = ISWR = SWR

ส่วนการวัด VSWR ของสายอากาศก็มี
1. ต่อสายนำสัญญาณให้ถูกต้องก่อน 
2. Range Switch ปรับไปที่กำลังส่งที่มากกว่า แรงส่งของเครื่องวิทยุท่าน (เช่นเครื่องมือถือก็ปรับประมาณ 20 เครื่อง ติดรถและหรือประจำที่ ก็ปรับไปที่ 200)
3. Function Switch ปรับไปที่ CAL
4. Switch ตัวสุดท้าย (จำชื่อไม่ได้) มี 3 ค่า คือ Off , Fwr , Rwd ปรับไปที่ Fwr (Rwd เพื่อวัด Reflex กลับ)
5. ตั้งความถี่ที่ต้องการ
6. กดคีย์ออกอากาศ
7. หมุนลูกบิดกลมๆ เพื่อปรับค่า เอาให้เข็มตีขึ้นไปจนสุดจอที่ตำแหน่ง CAL (สีแดง) พอดี
8. Function Switch บิดกลับมาที่ SWR
9. กดคีย์ออกอากาศ อีกรอบ พร้อมกับอ่านค่า VSWR ของสายอากาศ


ขอขอบคุณเว็ป : http://www.ham-cusiam.com/index.php?topic=158.0

การแบ่งเขตนามเรียกขานทั่วประเทศ

การแบ่งเขตนามเรียกขานทั่วประเทศ


1. สัญญาณเรียกขาน "HS 1 XXX" ,HS 0 XXX" ,E2 1 XXX และ E2 0 XXX มี 10 จังหวัด 
กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง 
 
2. สัญญาณเรียกขาน "HS 2 XXX" มี 7 จังหวัด 
จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง 
3. สัญญาณเรียกขาน "HS 3 XXX" มี 7 จังหวัด 
ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี 
 
4. สัญญาณเรียกขาน "HS 4 XXX" มี 10 จังหวัด
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร นองคาย อุดรธานี 
 
5. สัญญาณเรียกขาน "HS 5 XXX" มี 9 จังหวัด 
เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ 
 
6. สัญญาณเรียกขาน "HS 6 XXX" มี 8 จังหวัด
กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี
 
7. สัญญาณเรียกขาน "HS 7 XXX" มี 8 จังหวัด
กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี 
 
8. สัญญาณเรียกขาน "HS 8 XXX" มี 7 จังหวัด
กระบี่ ชุมพร  นครศรีธรรมราช  พังงา  ภูเก็ต  ระนอง สุราษฎร์ธานี
 
9. สัญญาณเรียกขาน "HS 9 XXX" มี 7 จังหวัด
ตรัง นราธิวาส  ปัตตานี  พัทลุง  ยะลา  สงขลา สตูล
 
           รหัส XXX นั้น จะเป็น รหัสประจำตัวหรือสถานี เช่น สมมุติ Call Sign HS0DOF แสดงว่า  อยู่ในประเทศไทย (HS) และอยู่ในกลุ่มที่ 1 มีรหัสเป็นประจำตัวเป็น DOF
 
  สัญญาณเรียกขานใหม่
การแบ่งเขตนามเรียกขานใหม่

เขต 1  HS0, HS1 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E20 E21 E22 E23 E24 E25 E26
เขต 2  HS2 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E27
เขต 3  HS3 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E27
เขต 4  HS4 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E27
เขต 5  HS5 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E28
เขต 6  HS6 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E28
เขต 7 HS7 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E29
เขต 8  HS8 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E29
เขต 9  HS9 ใช้สัญญาณเรียกขาน
E29
 
 
Call Sign ล่าสุด 20 มีนาคม 2552
 
 
เขต1  E22KBI

เขต2  E27DIJ

เขต3  HS3TNX

เขต4  HS4TQK

เขต5  E28MA

เขต6  HS6WTD

เขต7  E29AUB

เขต8  E29OAJ

เขต9  HS9XQS


ขอบคุณ เว็ป: http://ham.9bkk.com/articles/call_sign.html

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ระบบตรวจสอบการเป็นสมาชิกสมาคม ของพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ระบบตรวจสอบการเป็นสมาชิกสมาคม ของพนักงานวิทยุสมัครเล่น

กดที่ลิ้งค์ด้านล่าง แล้วใส่เลขที่บัตรประชาชน




เพื่อการแสดงผลที่ถูกต้อง แนะนำให้ใช้เบราเซอร์ Internet Explorer จะดีกว่า

เนื่องจากเพิ่งเปิดใช้งานระบบ
ในช่วงแรกข้อมูลที่ทางสมาคมต่างๆ ส่งให้ทาง กสทช.ยังไม่ครบหรือยังไม่สมบูรณ์ และเจ้าหน้าที่ กสทช.จะต้องป้อนข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ระบบ อาจใช้เวลาพอสมควร ท่านที่ทดสอบช่วงนี้ส่วนมากจะแสดงผล "ไม่พบข้อมูล"

ทำสายโปรแกรม ICOM (OPC-478) ใช้เองดีกว่า

 เป็นสายลิงค์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครื่องวิทยุสื่อสารของยี่ห้อ Icom เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านทาง comพอร์ต เพื่อทำการปรับแต่งหรือแก้ไขโปรแกรมของเครื่องคุณสมบัติตามที่เราต้องการ โดยผ่านโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของแต่ละรุ่น ซึ่งสายลิงค์นี้จะใช้ได้กับเครื่อง Icom 3fgx , icom 3Fx , icom 30FX , icom 2100 fx , icom 2100 , ic 2200  หรือรุ่นที่ใช้แจ็คแบบนี้เสียบทำโปรแกรม โดยเสียบสายโปรแกรมที่ช่องเสียบลำโพง จะได้แทบทั้งหมด


รายการอุปกรณ์

R1 =   150 Ω    1/4 w.   5%
R2 =   33 KΩ    1/4 w.   5%
R3 =   47 KΩ    1/4 w.   5%
R4 =   33 KΩ    1/4 w.   5%
R5 =   15 KΩ    1/4 w.   5%
R6 =   22  Ω     1/4 w.   5%
(ค่าวัตต์เลือกต่ำสุดได้ตามชอบ ค่าคลาดเคลื่อนก็เลือกตามชอบ    ส่วนR6 จะใส่หรือต่อตรงก็ได้ครับ)

C1 = 1 µF 16 v
Q1 = 2SA1015
Q2 = 2SC1815
ZD1 = ชีเนอร์ 5.1v 1/2 w
D2 = 1N4002
ซ๊อคเก็ตคอมตัวเมีย (แบบ DB9) 1 ตัว
แจ๊คสเตอริโอ ขนาด 3.5 มิล 1 ตัว
กล่องอเนกประสงค์ขนาดเล็ก 1 อัน
สายชีลด์ แกนใน 2 เส้น ยาว 1 เมตร หรือแล้วแต่ความเหมาะสม
สายชีลด์ แกนใน 4 เส้น หรือมากกว่าก็ได้ ( อาจจะเอาสาย MOUSE เก่าก็ได้ )

ว่ากันตามจริงแล้ว ทรานซิสเตอร์ Q1 ,Q2 มันเป็นแบบ PNP และ NPN เอาเบอร์อะไรใส่ก็ได้ครับถ้าเราเข้าใจ เพราะแรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจรต่ำมาก และเป็นวงจรที่ไม่ได้มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดเบอร์ทรานซิสเตอร์ลงตายตัว คนที่เป็นช่างจะใช้มัลติมิเตอร์วัดแป๊บเดียวก็รู้ชนิดแล้ว ปกติถ้าผมขี้เกียจไปซื้อ ก็จะแกะบอร์ดแผงวงจรอะไรก็ได้ที่มีตัวทรานซิสเตอร์ แบบ PNP และ NPN



หมายเหตุ
    วงจรนี้ถ้าต่อถูกต้องไม่มีอะไรผิดพลาดจะสามารถใช้งานได้เลยครับ แต่ถ้ามีปํญหาขอให้เพื่อนๆ ตรวจสอบดูหมายเลข Com Port หลังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้ถูกต้องด้วยนะครับ ว่าเป็นหมายเลขอะไร เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะใช้ตัวแปลงจาก USB มาเป็น Com Port เวลาเราเสียบต่อสาย USB เข้าแล้ว Windows จะทำการแปลงตำแหน่งให้เราโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับโปรแกรม CS-3fgx มันสามารถรับได้แค่ COM1 - COM4 เท่านั้นครับ ฉะนั้นเวลาเราตั้งค่าได้แล้วขอให้เราจำตำแหน่งรู USB ที่เราเสียบสายไว้ คราวต่อไปก็ต้องเสียบตรงช่องเดิม

การต่อสายเพื่อไปใช้กับรุ่นอื่น เพื่อการต่อยอด




หรือลองดูแนวทางการต่อนำไปใช้กับรุ่นอื่นตามภาพล่าง



เว็ปรวมโปรแกรมวิทยุสื่อสารรุ่นต่างๆ
เว็บตรงของ ICOM ปกติจะมีแต่ของดีเลอร์ (ต้องมีรหัสผ่าน)


อันนี้เว็บของรัสเซีย ในนี้มีข้อมูลสุดยอด
หน้ารวมโปรแกรม
ตระกูล Icom
ตระกูล Motorola
ตระกูล Alinco
ตระกูล Kenwood
ตระกูล Vertex
ตระกูล Yaesu


เว็บนี้ของอังกฤษครับ
ในนี้มีโปรแกรม และเฟิร์มแวร์ ที่หายาก แอบอยู่มากมายครับ
 - https://hamfiles.co.uk
 - คลิกตรงนี้เพื่อสมัครสมาชิกก่อน..!! / hamfiles.co.uk แล้วจะมีลิ้งค์มาที่เมล์เราให้ยืนยันตัวตน
 - ลิ้งค์ของ ICOM
 - ลิ้งค์ของ Motorola มี GP-300 ด้วยนะ
 - อันนี้สุดยอด
http://www.radioscanner.ru/files/manuals/


ที่มาข้อมูล....และขอบคุณ

www.108ham.com/viewdoucment.php?pid=213
http://ham9bkk.com
http://www.9bkk.com
www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=77428.90

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีหา กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator) แค่คลิกก็ได้กริดแล้ว

วิธีหา กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator) ออนไลน์ เพียงแค่จิ้มๆ ไปบนแผนที่ก็ได้กริดแล้ว
กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator) คือ การแบ่งผิวโลกออกเป็นส่วน ๆ เป็นตาราง เป็นระบบที่นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกนิยมใช้เพื่อบอกที่ตั้งของสถานีวิทยุ ส่วนรายละเอียดที่มาของ Grid Locator ผมไม่ขออธิบายเพราะมีหลายเว็บได้เขียนไว้ดีแล้วลองหาอ่านในกูเกิ้ลได้ครับ
นี่ก็ใกล้จะถึงเวลาแข่งขัน CQ แล้ว สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่ลงแข่งขันประจำจะรู้ดีว่ามันเป็นยังไงและมีไว้ทำไม เพราะตอนที่แข่งวิทยุอย่างเช่น CQ World Wide VHF หรือ Thailand Field Day Contest ก็จะต้องลง Grid Locator ของคู่สถานีไว้ใน Log Book ด้วย
ที่จะพูดถึงวันนี้คือวิธีการหาว่าตำแหน่งนั้นเป็นกริดอะไรกันแน่ ซึ่งในการแข่งขันครั้งก่อนๆ ผมและทีมงานใช้แผนที่กระดาษมาตีตารางเองซึ่งมันใช้งานไม่ค่อยสะดวกเลย เช่นเวลาคู่สถานีแจ้งตำบล อำเภอ แต่ไม่แจ้งกริด เราก็ต้องหาดูในแผนที่กระดาษ กว่าจะหาได้ ผมเลยจะมาแนะนำเว็บแผนที่สำหรับหากริดโดยเฉพาะ นั่นคือ
วิธีใช้งานง่ายๆ แค่เปิดเว็บไซต์ด้านบนนี้แล้ว ก็จิ้มๆ ไปในพื้นที่ที่ต้องการดูกริด ก็จะได้กริดมาลง Log Book แล้วครับ แม่จะมีข้อจำกัดว่าต้องมีอินเตอร์เน็ตถึงจะใช้ได้แต่เดี๋ยวนี้ที่ไหนๆ ก็มีเน็ตใช้
นี่ก็เป็นแค่ช่องทางหนึ่งในการหากริด อันที่จริงก็มีหลายเว็บที่ใช้งานลักษณะนี้ รวมไปถึงมีแอปพลิเคชันด้วยแต่ผมสะดวกใช้จอใหญ่ๆ ในคอมมากกว่า เพื่อนสมาชิกท่านไหนมี วิธีหากริดที่ดีกว่านี้ก็มาแนะนำกันได้นะครับ


ขอบคุณ เว็ป: https://www.hs3lzx.com/grid-locator/

ข้อมูลสถานี Echolink e29ors ชุมพร

สถานี Echolink e29ors ออกอากาศโดยมีข้อมูลสถานีดังนี้
                                 1.คอมพิวเตอร์ เมนบอร์ด 775 CPU Intel® Core2 Quad Q9400 4Core (6M Cache, 2.66 GHz, 1333 MHz FSB)



                                  2.ออกอากาศด้วยเครื่องวิทยุ ICOM IC-2GE กำลังส่ง 5วัตต์ ที่ความถี่ 145.750MHZ ห้อง Ham-Cu Siam Conference  


                                  3.สายนำสัญญาน 10D-FB สายอากาศ 5/8 แลมด้า 2ชั้น ความสูง12เมตร

                       
                                  4.สายอิเตอร์เฟส ทำขึ้นเองโดย e29jau โดยใช้วงจรจากอินเตอร์เน็ตที่สมาชิกได้เเชร์แบ่งปันไว้


เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมงนะค่ะ สมาชิกเดินทางผ่านพื้นที่ อ.เมือง ชุมพร สามารถใช้บริการได้ทุกท่านค่ะ
ขอขอบคุณท่านประธานชมรมฯ HS3FKJ